About : BKIND

โครงการ การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู
ได้รับสนับสนุุนจากกองทุน Bkind 2558-2559

หลักการและวัตถุประสงค์

ด้วยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดำเนินการเพื่อ 2 วัตถุประสงค์หลักได้แก่
1. เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและนวัตกรรมองค์กร
      1.1 วัตกรรมสำหรับการเรียนการสอนเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในศตวรรษที่ 21 และ จากการที่ทดลองและพัฒนามากว่า 10 ปี จึงได้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญสองนวัตกรรมคือ 1) “จิตศึกษา” ซึ่ง เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายใน ได้แก่ การมีจิตใหญ่เพื่อรักได้อย่างมหาศาล การเคารพคุณค่าตัวเองและคนอื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างภารดรภาพ การมีสติชำนาญเพื่อเท่าทันอารมณ์ การมีสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้สำเร็จ การมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น เป็นต้น และ 2) “หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ PBL (Problem based learning)” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็น Active Learning ที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายนอก ได้แก่ Reading comprehension, Writing, Arithmetic, ICT skills, Thinking skills, Life & Career skills, Collaboration skill and Core subject
     1.2 พัฒนานวัตกรรมสำหรับองค์กรเพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่า “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) ซึ่ง มีองค์ประกอบสองส่วนที่สำคัญคือ การสร้างความเป็นชุมชนให้เกิดขึ้นในองค์กร และ การจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายระหว่างกัน เป้าหมายสำคัญของ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความเข้าใจ ในสิ่งที่จะสอน มีทักษะการจัดการเรียนการสอน และ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู

รูปแบบการทำงานของ 3 นวัตกรรม PLC, PBL, จิตศึกษา ที่จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน


หลักการและวัตถุประสงค์

          รูปแบบการทำงานของ 3 นวัตกรรม PLC, PBL และจิตศึกษา ที่จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
เพื่อการพัฒนารูปแบบสำหรับการขยายผลจากโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา
จ.นครราชสีมา และโรงเรียนบ้านขุมคำ จ.หนองคาย
- การชักชวนให้โรงเรียนอื่นมาดูงาน
- นำเสนอแนวทางการพัฒนาโรงเรียนด้วย 3 นวัตกรรมการศึกษาผ่านการประชุมที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- จัดทำเอกสารเผยแพร่
- นำเสนอ Best Practice ในเวที Conference ประจำปี


2. เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนของรัฐให้มากขึ้นเพื่อ ให้ถึงผู้เรียนจำนวนมากขึ้น และ ในที่สุดจะเกิด Critical mass สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของไทย โดยโรงเรียนฯ ได้ดำเนินการกิจกรรม ดังนี้
        2.1 เปิดรับให้ครู หรือโรงเรียนต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน 1 วัน (Open eyes) เพื่อจุดประกายให้เห็นความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมทั้งสามอย่าง
        2.2 โรงเรียนสนใจที่ต้องการใช้นวัตกรรมหรือวิธีการบางส่วน หลังจาก Open eye แล้วจะกลับมาอบรมระสั้น 2-3 วัน
       2.3 โรงเรียนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ จะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
- กระบวนการ Open eye
- อบรมหลักสูตรยาว 5-10 วัน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทั้งหมด PLC PBL จิตศึกษา
- นำกลับไปใช้ โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตาม Monitor สาธิตการสอน ร่วมทำ Lesson study ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ PLC ปีละ 2-4 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียน)
- ถ่ายทำ Clip การสอนของครูในทุกชั้นเรียนเพื่อให้ครูเรียนรู้จากการสอนได้มากขึ้น
- สร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และ ทำ PLC online เพื่อการเรียนรู้ข้ามโรงเรียน และ เพื่อ Empower ครู
- จัด Conference ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำเสนอความสำเร็จ และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสังคม


รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างให้การปฏิรูปการจัดการศึกษา

       ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ร่ามมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และ สพป.นครราชสีมา 2และ 5 เพื่อ พัฒนาโรงเรียนต้นแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู จำนวน 4 โรงเรียนได้แก่  โรงเรียนบ้านโค้งกระโดน โรงเรียนบ้านปอพราน โรงเรียนบ้านดอนไพล และโรงเรียนโกรกลึก




โครงการ การพัฒนารูปแบบการขยายผลโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา
2559-2560


          โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษาในปี 2558-2559 โดยได้รับการสนับสนุนจาก BKIND ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ โรงเรียนบ้านโกรกลึก โรงเรียนบ้านโค้งกระโดน โรงเรียนบ้านปอพราน และโรงเรียนชุมชนบ้านดอนไพล ในจังหวัดหนองคาย จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านขุมคำ และโรงเรียนบ้านเทพประทับ เพื่อให้โรงเรียนดังกล่าวได้กลายเป็นโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา ที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในศตวรรษที่ 21ผ่านการใช้นวัตกรรมจิตศึกษาและหน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ PBL (Problem based learning) การพัฒนานวัตกรรมสำหรับองค์กรเพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่า “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) เพื่อสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับทักษะการจัดการเรียนเรียนรู้ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนของรัฐให้มากขึ้น เพื่อให้ถึงผู้เรียนจำนวนมากขึ้น และในที่สุดจะเกิด Critical mass สำหรับการปฏิรูปการศึกษาไทย



           รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างให้การปฏิรูปการจัดการศึกษา


          ในการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษานอกเหนือจากที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก BKIND แล้ว โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนายังสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อให้โรงเรียนโครงการในจังหวัดนครราชสีมาได้เป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาครู และยังสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนสังกัดอยู่ด้วยเพื่อให้โรงเรียนในโครงการได้ทดลองในแนวทางใหม่
    ผลจากการดำเนินการ 1 ปี พบว่า โรงเรียนบ้านโกรกลึก โรงเรียนบ้านโค้งกระโดน และโรงเรียนบ้านขุมคำ พัฒนาตนเองจบเป็นโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา คือมีการใช้นวัตกรรมของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาอย่างมีประสิทธิผล ได้แก่ มีการใช้นวัตกรรมจิตศึกษาใช้หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ PBL (Problem based learning)และใช้ “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) เพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กร โรงเรียนชุมชนดอนไพล ใช้นวัตกรรมทั้ง 3 อย่าง มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษาในปีถัดไป โรงเรียนบ้านปอพรานและโรงเรียนเทพประทับเลือกใช้เฉพาะนวัตกรรม “จิตศึกษา” ทั้งนี้ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเล็งเห็นถึงความงอกงามในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านโกรกลึกโรงเรียนบ้านโค้งกระโดน โรงเรียนบ้านขุมคำและโรงเรียนชุมชนบ้านดอนไพล เห็นถึงความเป็นไปได้ ในการขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจ จึงพัฒนารูปแบบสำหรับการขยายผลขึ้น

วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการในปีที่ 2

เป้าหมาย
       1.โรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านโกรกลึก โรงเรียนบ้านโค้งกระโดน
       2. โรงเรียนที่สนใจ 6 โรงเรียน

ขั้นตอนของรูปแบบการขยายผล
       1. Sale = โรงเรียนที่เป็นต้นแบบ “โรงเรียนจิตศึกษา” สร้างการรับรู้ให้กับรงเรียนอื่นๆ ดังนี้
       2. Open Eyes = การเปิดรับครูหรือโรงเรียนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานจากโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เห็นความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ผ่านการปฏิบัติจริงในชั้นเรียน เพื่อรับเปลี่ยนกรอบคิดการจัดการเรียนรู้
       3. Plan = โรงเรียนที่สนใจออกแบบระบบและวางแผนพัฒนาโรงเรียนของตนเพื่อเทียบกับโรงเรียนต้นแบบ โดยการสร้างข้อกำหนดและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละระบบ ประเมินตนเอง จะทำให้โรงเรียนรู้ปัญหาจากระดับคะแนนที่ได้ ก่อให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาตนเองให้มีระดับคะแนนที่สูงขึ้น การออกแบบการเทียบระดับนี้ โรงเรียนที่นำไปใช้จะสามารถออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนนั้นๆโรงเรียนเครือข่ายสามารถใช้ข้อกำหนดเดียวกันเพื่อปรับการจัดการเรียนรู้ การบริหาร การพัฒนาครู การจัดกิจกรรม การทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ฯลฯ ให้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นและถ้าโรงเรียนมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อให้โรงเรียนของตนเลื่อนขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงกว่าเดิม ก็จะเกิดการพัฒนาโรงเรียนแบบก้าวกระโดด
       4. Training = โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดหลักสูตรอบรมครูตามความต้องการและความจำเป็นของโรงเรียนที่สนใจ เพื่อให้มีทักษะและสร้างความเข้าใจในการนำนวัตกรรมไปใช้ในโรงเรียนของตนเอง เช่น จิตศึกษา PBL และ PLC, หลักสูตรการบูรณาการวิชาหลัก ภาษาไทย คณิต อังกฤษ การอบรมแกนนำผู้ปกครอง Collective trainer, True Leader เป็นต้น
       5. Mentor = Site Visit โรงเรียนต้นแบบจิตศึกษาผู้ให้ (Give) และโรงเรียนที่สนใจเป็นผู้รับ (Take) โดยมีลำปลายมาศพัฒนาและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาร่วมติดตามนิเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและจัดการเรียนรู้และสร้างเครือข่าย PLC ออนไลน์
       6. Action = การนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนต้นแบบไปใช้จริงในโรงเรียนของตน นำ 3 นวัตกรรมไปใช้พัฒนาปัญญาภายนอกโดย PBL พัฒนาปัญญาภายในโดยจิตศึกษาและสร้างชุมการเรียนรู้วิชาชีพครูด้วย PLC
       7. Evaluation = ประเมินผลใช้วิธีการประเมินตนเองหรือการวัดผลแบบเทียบระดับ (Benchmarking) ในการพิสูจน์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งการประเมินอาจแบ่งช่วงเวลาเป็นหลายครั้ง
       8. Repeat = ทำซ้ำและปรับปรุงเมื่อได้ลองใช้นวัตกรรมจริงแล้ว ให้สังเกตผลและร่วมกันถอดบทเรียนผ่านการ PLC เพื่อเริ่มต้นการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษาถัดไป
       9. Forward = ส่งต่อหรือขยายผลสู่โรงเรียนอื่นๆ โดย Conference, PLC Online

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น