“ครู” ผู้สอนและผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง
ตั้งแต่เริ่มเข้ามาคลุกคลีในวงการการศึกษาไทย
และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาของประเทศต่างๆ
ทั่วโลกจากหนังสือและบทความมากมาย ทำให้เรามีความเชื่อมาตลอดว่า 'ครู'
คือปัจจัยสำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
สามารถพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่สมบูรณ์
มีความรู้และทักษะที่ทำให้เด็กๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้
และสามารถสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราก็ยังคงหวังว่าจะมีหน่วยงาน หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองสักคนเห็นความสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนหลักสูตร หรือออกนโยบายที่สามารถปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง
ในขณะที่ความหวังเหล่านั้นจะดูเหมือนริบหรี่ลง และ 'ครู' ก็ตกเป็นจำเลยสังคมว่าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาได้อย่างที่ควรจะ เป็น ก็ยังมีครูและผู้อำนวยการจำนวนกว่าร้อยคนจากหลายสิบโรงเรียน ทั้งโรงเรียนเล็กและใหญ่ซึ่งมีข้อจำกัดแตกต่างกัน มารวมตัวกันที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการ 'แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ'
นอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างครูและผู้บริหารโรงเรียนต่างๆ แล้วยังเป็นการจุดประกายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ การจัดการเรียนการสอนแบบ Problem-based Learning จากครูที่มีประสบการณ์ทำแผนการสอนมาก่อน จึงสามารถแนะนำแผนการสอนที่ประสบความสำเร็จให้กับครูคนอื่นๆ ได้ แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ทำให้เด็กๆ มีทักษะในการคิดการค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง การพูด/นำเสนอผลงาน และการทำงานเป็นกลุ่ม
ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่หลายโรงเรียนพบ คือสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กๆ จากเดิมที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก ให้เป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองกล้าพูด และนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้ และจากเดิมที่เด็กๆ ไม่อยากไปโรงเรียนก็ทำให้เด็กๆ รู้สึกอยากมาโรงเรียนมาเจอเพื่อนๆ มากอดคุณครู (ส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตศึกษา) รักการเรียนรู้ และสนุกกับการตอบคำถาม
คุณครูเหล่านี้ไม่ได้รวมตัวกันเพียงเพื่อมาหาเทคนิคการสอน หรือวิธีการบรรลุตัวชี้วัดต่างๆ เหมือนงานสัมมนาทั่วไป แต่เป็นการส่งต่อสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ จากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียนหนึ่ง ภายใต้เป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น คือการปฏิรูปการศึกษาไทยในที่สุด นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าวยังทำให้เกิดการยอมรับชื่นชมปลุกจิตวิญญาณของ ความเป็นครู และสร้างความภาคภูมิใจให้กับครูผู้กล้าลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นกำลังใจสำคัญในการต่อสู้กับอุปสรรค และทุ่มเทเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ที่เกิดประโยชน์กับเด็กๆ มากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามหนังสือ หรือตำราแบบเดิมๆ อีกด้วย
สำหรับเราแล้ว เราเคยพูดถึงคำว่า 'การปฏิรูปการศึกษา' หรือ 'Education Reform' อยู่ หลายครั้งทั้งทาง Social Media และกับผู้คนรอบข้างที่คอยเข้ามาให้ความสนใจกับสิ่งที่เราทำ แต่วันนี้เราอยากบอกทุกคนว่าการปฏิรูปการศึกษาได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ไม่ใช่จากนโยบายหรือหลักสูตรที่กำหนดโดยกระทรวง ไม่ต้องรอให้คนรุ่นใหม่เข้ามาแก้ไขอย่างที่คนชอบพูดกัน แต่เกิดจากการลงมือทำจริงของครูตัวเล็กๆ ที่มีใจอยากให้นักเรียนของตัวเองได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ภายใต้การสนับสนุนจากครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หน่วยงานภาคเอกชนอย่างกองทุนคนไทยใจดี (BKIND) ของ บลจ.บัวหลวง สถาบันการศึกษา IRES เป็นต้น
พวกเราทุกคนต่างก็เห็นว่าการศึกษาไทยมีปัญหา แต่ไม่รู้ว่าจะมีสักกี่คนที่ลุกขึ้นมาแก้ไข เราอย่าปล่อยให้ครูกลุ่มนี้ต่อสู้อย่างเดียวดายเลย ช่วยกันบอกเล่าเรื่องราว เพื่อเป็นกำลังใจให้ครูร้อยกว่าคนนี้ ขยายออกไปเป็นพันเป็นหมื่นเป็นล้านคนจนปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบในที่ สุด...เพราะเรายังมีความหวัง :)
จาก School of Changemakers
http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=345
ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราก็ยังคงหวังว่าจะมีหน่วยงาน หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองสักคนเห็นความสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนหลักสูตร หรือออกนโยบายที่สามารถปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง
ในขณะที่ความหวังเหล่านั้นจะดูเหมือนริบหรี่ลง และ 'ครู' ก็ตกเป็นจำเลยสังคมว่าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาได้อย่างที่ควรจะ เป็น ก็ยังมีครูและผู้อำนวยการจำนวนกว่าร้อยคนจากหลายสิบโรงเรียน ทั้งโรงเรียนเล็กและใหญ่ซึ่งมีข้อจำกัดแตกต่างกัน มารวมตัวกันที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการ 'แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ'
- ต้นแบบพัฒนาผู้เรียนจากปัญญาภายใน ด้วยกระบวนการจิตศึกษา ที่ทำให้เด็กๆ มีสมาธิในการเรียน รู้จักรับผิดชอบ มีความเคารพตัวเอง และผู้อื่น เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่มีการดุด่าว่าตี มีแต่การสอนด้วยความรักและความอ่อนโยน ถือว่าเป็นโรงเรียนที่คุณครูพูดเสียงเบาที่สุดก็เป็นได้
- ต้นแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ Problem-based learning (PBL) เป็นการเรียนการสอนนอกตำราเรียน แต่เป็นการพัฒนาทักษะโดยการตั้งคำถาม แล้วให้เด็กๆ ช่วยกันหาคำตอบและนำเสนอข้อค้นพบด้วยตัวเอง เช่น จากการสอนเรื่องไดโนเสาร์เปลี่ยนเป็นการตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่าในบ้านเรามีอะไรที่กำลังสูญพันธุ์เหมือนไดโนเสาร์บ้าง?”
- ต้นแบบการพัฒนาครูด้วยชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพหรือ Professional Learning Community (PLC) เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู เพื่อยกระดับทักษะการสอน โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ แต่สามารถต่อยอด หรือปรับใช้หลักสูตรจากโรงเรียนอื่นๆ ในเครือข่ายให้เหมาะสมกับโรงเรียนของตัวเองได้
- แม้ว่าเราจะเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ แต่เราก็ได้รับพลังงานมหาศาลจากครูผู้ลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัว เอง โดยไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งหรือนโยบายจากใคร เริ่มต้นจากการเปลี่ยนวิธีคิดของตนเอง เปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน จนโรงเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษา และสร้างเครือข่ายโรงเรียนใกล้เคียงให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสักวันหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยความตั้งใจของครูร้อยกว่าคน นี้ จะขยายไปสู่โรงเรียนจำนวนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยได้ในที่สุด
นอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างครูและผู้บริหารโรงเรียนต่างๆ แล้วยังเป็นการจุดประกายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ การจัดการเรียนการสอนแบบ Problem-based Learning จากครูที่มีประสบการณ์ทำแผนการสอนมาก่อน จึงสามารถแนะนำแผนการสอนที่ประสบความสำเร็จให้กับครูคนอื่นๆ ได้ แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ทำให้เด็กๆ มีทักษะในการคิดการค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง การพูด/นำเสนอผลงาน และการทำงานเป็นกลุ่ม
ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่หลายโรงเรียนพบ คือสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กๆ จากเดิมที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก ให้เป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองกล้าพูด และนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้ และจากเดิมที่เด็กๆ ไม่อยากไปโรงเรียนก็ทำให้เด็กๆ รู้สึกอยากมาโรงเรียนมาเจอเพื่อนๆ มากอดคุณครู (ส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตศึกษา) รักการเรียนรู้ และสนุกกับการตอบคำถาม
คุณครูเหล่านี้ไม่ได้รวมตัวกันเพียงเพื่อมาหาเทคนิคการสอน หรือวิธีการบรรลุตัวชี้วัดต่างๆ เหมือนงานสัมมนาทั่วไป แต่เป็นการส่งต่อสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ จากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียนหนึ่ง ภายใต้เป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น คือการปฏิรูปการศึกษาไทยในที่สุด นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าวยังทำให้เกิดการยอมรับชื่นชมปลุกจิตวิญญาณของ ความเป็นครู และสร้างความภาคภูมิใจให้กับครูผู้กล้าลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นกำลังใจสำคัญในการต่อสู้กับอุปสรรค และทุ่มเทเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ที่เกิดประโยชน์กับเด็กๆ มากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามหนังสือ หรือตำราแบบเดิมๆ อีกด้วย
สำหรับเราแล้ว เราเคยพูดถึงคำว่า 'การปฏิรูปการศึกษา' หรือ 'Education Reform' อยู่ หลายครั้งทั้งทาง Social Media และกับผู้คนรอบข้างที่คอยเข้ามาให้ความสนใจกับสิ่งที่เราทำ แต่วันนี้เราอยากบอกทุกคนว่าการปฏิรูปการศึกษาได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ไม่ใช่จากนโยบายหรือหลักสูตรที่กำหนดโดยกระทรวง ไม่ต้องรอให้คนรุ่นใหม่เข้ามาแก้ไขอย่างที่คนชอบพูดกัน แต่เกิดจากการลงมือทำจริงของครูตัวเล็กๆ ที่มีใจอยากให้นักเรียนของตัวเองได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ภายใต้การสนับสนุนจากครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หน่วยงานภาคเอกชนอย่างกองทุนคนไทยใจดี (BKIND) ของ บลจ.บัวหลวง สถาบันการศึกษา IRES เป็นต้น
พวกเราทุกคนต่างก็เห็นว่าการศึกษาไทยมีปัญหา แต่ไม่รู้ว่าจะมีสักกี่คนที่ลุกขึ้นมาแก้ไข เราอย่าปล่อยให้ครูกลุ่มนี้ต่อสู้อย่างเดียวดายเลย ช่วยกันบอกเล่าเรื่องราว เพื่อเป็นกำลังใจให้ครูร้อยกว่าคนนี้ ขยายออกไปเป็นพันเป็นหมื่นเป็นล้านคนจนปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบในที่ สุด...เพราะเรายังมีความหวัง :)
จาก School of Changemakers
http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=345
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น